วิศวกรรมสำรวจ Engineering Surveying

฿420.00

วิศวกรรมสำรวจ หลักการเบื้องต้นของการสำรวจ การวัดระยะทาง การสำรวจด้วยโซ่ การสำรวจด้วยเข็มทิศ การวัดระดับ เส้นชั้นความสูง การคำนวณพื้นที่ และปริมาตร

ISBN: 9786167770253 หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:
แชร์เล่มนี้

ผู้เขียน
ผศ.สมศักดิ์ เอื้ออัชฌาสัย

ปีที่พิมพ์
ครั้งที่ 2
พฤศจิกายน 2564
จำนวน
584 หน้า
ISBN
9786167770253

รหัสสินค้า
0399
หมวดหนังสือ
ก่อสร้าง

วิศวกรรมสำรวจ
หนังสือวิศวกรรมสำรวจ เล่มนี้เรียบเรียงขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาวิศวกรรมสำรวจ ในการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา โดยรวบรวมจากเอกสารประกอบการสอนวิชาดังกล่าวที่ผู้เขียนเคยใช้สอนนักศึกษาวิศวกรรมโยธา รวมทั้งหนังสืออ้างอิงต่าง ๆ ดังที่แสดงไว้ เนื้อหามีทั้งสิ้น 13 บท กล่าวถึง บทนำและหลักการเบื้องต้นของการสำรวจ การวัดระยะทาง การสำรวจด้วยโซ่ การสำรวจด้วยเข็มทิศ การวัดระดับ เส้นชั้นความสูง การคำนวณพื้นที่ และปริมาตร กล้องวัดมุม และการใช้งาน งานข่ายสามเหลี่ยม งานวงรอบ การสำรวจด้วยสเตเดีย การสำรวจภูมิประเทศ และการรังวัดดาวเทียม ซึ่งแต่ละบทมีเนื้อหาที่เพียงพอจะใช้เป็นความรู้พื้นฐานได้ในระดับหนึ่ง และเมื่อจบแต่ละบทก็ได้ให้แบบฝึกหัด และเฉลยไว้ทดสอบความเข้าใจ

ผู้เขียนใคร่ขอแสดงความกตเวทิตาต่อคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ และภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาให้ความรู้และอบรมให้เกิดความรักในวิชานี้ ทำให้ผู้เขียนได้มีอาชีพเป็นอาจารย์สอนในวิชาดังกล่าวในมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังได้ใช้ความรู้จากวิชานี้ในงานวิศวกรรมสำรวจที่ปรึกษาบ้างตามโอกาสอำนวย

บทที่ 1 บทนำและหลักการเบื้องต้นของการสำรวจ (Introduction and Basic Principles of Surveying)
บทที่ 2 การวัดระยะทาง (Distance Measurement)
บทที่ 3 การสำรวจด้วยโซ่ (Chain Surveying)
บทที่ 4 การสำรวจด้วยเข็มทิศ (Compass Surveys)
บทที่ 5 การวัดระดับ (Leveling)
บทที่ 6 เส้นชั้นความสูง (Contour)
บทที่ 7 การคำนวณพื้นที่ และปริมาตร (Area and Volume Computation)
บทที่ 8 กล้องวัดมุม และการใช้งาน (Theodolite and Use of Thedolite)
บทที่ 9 งานข่ายสามเหลี่ยม (Triangulation)
บทที่ 10 งานวงรอบ (Traverse)
บทที่ 11 การสำรวจด้วยสับเทนส์บาร์ และการสำรวจด้วยสเตเดีย (Subtense bars Surveying and Stadia Surveying)
บทที่ 12 การสำรวจภูมิประเทศ (Topographic Survey)
บทที่ 13 การรังวัดดาวเทียม (Satellite Surveying)
ภาคผนวก TRIGONOMETRICAL FORMULAE