การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมด้วย Autodesk Inventor Professional (Stress Analysis and Dynamic Simulation)

฿200.00

ผศ.ดร.จตุรงค์ ลังกาพินธุ์ และ บุญเอก เลิศรัตนพงศ์สิน

พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2556

จำนวนหน้า 192 หน้า

สินค้าหมดแล้ว

แชร์เล่มนี้

เนื้อหาในเล่มนี้ประกอบด้วยการใช้ Stress Analysis (บทที่ 1-2) และ Dynamic Simulation (บทที่ 3-4) ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม หลังจากที่ได้ออกแบบและเขียนแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบตามที่ผู้ออกแบบได้จินตนาการเอาไว้ โดย Stress Analysis จะช่วยวิเคราะห์ความแข็แรงและหาขนาดที่เหมาะสมของชิ้นส่วน (Part) หรืองานประกอบ (Assembly) ส่วน Dynamic Simulation จะใช้วิเคราะห์กลไกที่ได้ออกแบบไว้เพื่อให้ผู้ออกแบบเข้าใจถึงพฤติกรรมและลักษณะการเคลื่อนที่ของกลไกที่ได้ออกแบบไว้เพื่อให้ผู้ออกแบบเข้าใจถึงพฤติกรรมและลักษณะการเคลื่อนที่ของกลไกทั้งในส่วนของคิเนเมติกส์ (Kinematics) และ ไดนามิกส์ (Dynamics) โดยเนื้อหาจะเน้นให้ผู้อ่านฝึกทำตามตัวอย่างหลาย ๆ กรณีศึกษาแบบ Step by Step โดยไม่ต้องกังวลถึงทฤษฏีทางคณิตศาสตร์ เมื่อผู้อ่านเข้าใจมากขึ้นก็สามารถที่จะไปทบทวนพื้นความรู้ด้านกลศาสตร์ของแข็ง ไฟไนต์เอลิเมนต์ และกลศาสตร์เครื่องจักรกลเพิ่มเติม ซึ่งผมมั่นใจว่าต่อไปท่านจะเป็นนักออกแบบที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน

บทที่ 1 รู้จักกับ Stress Analysis

1.1 รู้จักกับระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

1.2 ข้อดีและข้อควรระวังของการวิเคราะห์ปัญาด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

1.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาโดย Stress Analysis

1.4 หน้าจอตดต่อกับผู้ใช้ของ Stress Analysis

1.5 ความหมายของเครื่องมือ Stress Analysis

บทสรุป

บทที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมด้วย Stress Analysis

2.1 การใช้ Stress Analysis วิเคราะห์ชิ้นส่วน

กรณีศึกษาที่ 1

2.2 การใช้ Stress Analysis วิเคราะห์ชิ้นส่วน

กรณีศึกษาที่ 2

2.3 การใช้ Stress Analysis วิเคราะห์ชิ้นงานประกอบ

2.4 การใช้ Parametric Table วิเคราะห์ปัญหาหลายตัวแปรของชิ้นงานประกอบ

2.5 การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติของชิ้นงานประกอบ

2.6 การใช้ Mesh Refinement ช่วยวิเคราะห์ชิ้นงาน

2.7 ตัวอย่างการกำหนดพื้นผิวสัมผัสกันของชิ้นส่วนในงานชิ้นงานประกอบ

บทสรุป

แบบทดสอบท้ายบท

บทที่ 3 รู้จักกับ Dynamic Simulation

3.1 ความรู้พื้นฐานของการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของกลไก

3.2 ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาโดย Dynamic Simulation

3.3 หน้าจอติดต่อกับผู้ใช้ของ Dynamic Simulation

3.4 การตั้งค่าของการทำงานของ Dynamic Simulation

3.5 การกำหนดจุดต่อเชื่อมให้กลไก

3.6 การกำหนดเงื่อนไขขอบเขตให้กลไก

3.7 การแสดงผลลัพธ์ด้วย Output Grapher

บทที่ 4 การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมด้วย Dynamic Simulation

4.1 การวิเคราะห์กลไกลิ้นของเครื่องยนต์

4.2 การวิเคราะห์กลไกที่ปัดน้ำฝนของรถยนต์

4.3 การเวิคราะห์หาความเร่งสูงสุดของเจนิวาเกียร์

4.4 การวิเคราะห์กลไกเพื่อออกแบบเพลาลูกเบี้ยว

4.5 การวิเคราะห์กลไลมือคีบ (Gripper) เพื่อหาขนาดต้นกำลัง

4.6 การวิเคราะห์กลไกเพื่อหาขนาดของชิ้นต่อโยงที่เหมาะสม

4.7 การวิเคราะห์กลไกเพื่อหาขนาดของสปริงในระบบกันสะเทือนของรถจักรยาน

บทสรุป

แบบทดสอบท้ายบท