การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
฿150.00
ประสิทธิ์ ภูสมมา
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2553
จำนวน 224 หน้า
หนังสือ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง เล่มนี้ผู้เขียนไมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนวิชาการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1 และให้นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีตำราใช้อ่านประกอบการเรียน และทบทวนหลังการเรียน โดยได้เรียงเรียงตัวอย่างที่มีรุปแบบวิธีการที่หลากหลายประกอบในเนื้อหาส่วนนั้น ๆ จากนั้นได้สรุปเนื้อหาแต่ละบท และมีแบบฝึกหัดท้ายบทในแต่ละเนื้อหา
เมื่อผู้เขียนได้เริ่มศึกษาทางวิชาไฟฟ้านั้น มักมองว่าต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างมาก จึงจะสามารถทำความเข้าใจได้ เลยดูเหมือนว่าวิชาทางไฟฟ้านั้นเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้ได้ยาก แต่หลังจากได้ศึกษาและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงพบว่าเป็นวิชาที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นไปตามหลักธรรมชาติและตรงไปตรงมา หากสามารถตีความโจทย์และมีมโนภาพที่ถูกต้องจะทำให้วิธีการวิเคราะห์วงจรมีส่วนง่าย ตำราเล่มนี้มีเนื้อหาประกอบด้วยสาระเกี่ยวกับความรู้พื้ฯบานที่จำเป็น องค์ประกอบทางไฟฟ้า เครื่องมือที่ใช้วัดประมาณทางไฟฟ้า ลักษณะการต่อวงจรไฟฟ้า เช่น การต่อแบบอนุกรม ต่อแบบขนาน และต่อแบบผสม ทั้งวงจรที่มีแหล่งกำเนิดเพียงหนึ่งแหล่ง หรือมีแหล่งกำเนิดมากกว่าหนึ่งแหล่ง ซึ่งต้องเลือกวิธีการวิเคราะห์วงจรแบบแรงดันโนด หรืออาจเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยทฤษฏีบทการทับซ้อน ทฤษฏีบทของเทวินิน ทฤษฏีบทของนอร์ตัน ทฤษฏีบทการถ่ายโอนกำลังไฟฟ้าสูงสุด และศึกษาคุณสมบัติขอตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงทั้งสถานะรับพลังงานและสถานะคายพลังงาน
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้า
บทที่ 2 คำจำกัดความและกฏของโอห์ม
บทที่ 3 วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม
บทที่ 4 วงจรไฟฟ้าแบบขนาน
บทที่ 5 วงจรไฟฟ้าแบบวงจรผสม
บทที่ 6 การเลือกทฤษฏีแก้ปัญหาวงจรที่ซับซ้อน
บทที่ 7 องค์ประกอบสะสมพลังงาน