การออกแบบระบบไฟฟ้า (Electrical System Design)
฿180.00
อ.สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา
พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฏาคม 2553
การออกแบบระบบไฟฟ้า เป็นวิชาหนึ่งในการศึกษาตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต และได้ถูกจัดให้เป็นวิชาหนึ่งในรายวิชาวิศวกรรมหลักเฉพาะของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยรายวิชาและเนื้อหาวิชาวิศวกรรมหลักเฉพาะของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ที่สภาวิศวกรจะให้การรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นผู้ที่จะเป็นวิศวกรไฟฟ้า จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องในการออกแบบระบบไฟฟ้า เพื่อให้สามารถทำการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและถูกหลักวิศวกรรมเป็นสำคัญ
หนังสือเล่มนี้ได้ถูกเรียบเรียงขึ้นด้วยวัตถุประุสงค์หลักสองประการด้วยกันคือ เพื่อใช้เป็นตำราหลักในการเรียนการสอนวิชา การออกแบบระบบไฟฟ้า ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือและเพื่อใช้เป็นคู่มือวิศวกรในการปฏิบัติงานออกแบบระบบไฟฟ้า โดยเนื้อหาภายในประกอบไปด้วยการออกแบบระบบไฟฟ้าในส่วนของระบบไฟฟ้าพื้นฐาน วงจรจ่ายไฟฟ้า สายไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟฟ้า ด้วยหม้อแปลง การคำนวณกระแสลัดวงจร การป้องกันอันตรายจากการเกิดโหลดเกินและลัดวงจร การป้องกันอันตรายจากการสัมผัสไฟฟ้า การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังและการแก้ปัญหาฮาร์มอนิกส์ การออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาตามหลักการวิศวกรรม แนวทางการออกแบบตลอดที้งตารางข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบระบบไฟฟ้าไว้อย่างครบถ้วน เพื่อให้สามารถทำการศึกษาได้ภายในระยะเวลาหนึ่งภาคการศึกษา
เนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ ได้ถูกเรียบเรียงโดยใช้มาตรฐานที่สำคัญ ๆ เป็นหลัก คือ มาตรฐาน IEC, ISO, CIE และ มอก. (TIS) ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงานวิศวกรรมสำหรับประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้ที่จะใช้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานหลัก จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์อ่างมากต่อนักศึกษา วิศวกร และผู้ที่ปฏิับัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าภายในอาคารและโรงงานต่าง ๆ
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ระบบไฟฟ้าในอาคารและโรงงาน
บทที่ 3 สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ
บทที่ 4 หม้อแปลงและการคำนวณกระแสลัดวงจร
บทที่ 5 การป้องกันอันตรายจากการเกิดโหลดเกินและลัดวงจร
บทที่ 6 การป้องกันอันตรายจากการสัมผัสไฟฟ้า
บทที่ 7 การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังและการแก้ปัญหาฮาร์มอนิกส์
บทที่ 8 การออกแบบระบบไฟฟ้าส่องสว่าง
เฉลยคำตอบแบบฝึกหัดท้ายบท