การเขียนภาพ Perspective
฿95.00
อ.ชวลิต ดาบแก้ว
พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ.2549
จำนวน 164 หน้า
การเขียนภาพ Perspective
วิชา Perspective มีความจำเป็นในการเขียนภาพ (Drawing) และระบายสี (Painting) มาก เพราะการเขียนภาพต่าง ๆ นั้นจะต้องใช้หลักของ Perspective ทางด้านเส้น สี ขนาด ระยะใกล้ไกลของวัตถุ การเขียนลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ผิด จะทำให้ภาพนั้นผิดจากความเป็นจริงตามธรรมชาติ ในทางสถาปัตยกรรมแล้ว วิชา Perspective มีความสำคัญมากเพราะจะต้องเขียนประกอบบแบบ ให้มีรูปร่างลักษณะตามความเป็นจริงที่มองเห็น
การเขียน Perspective นี้เขียนได้ 2 แบบ แบบแรกเป็นแบบช่างเขียนใช้เขียนโดยระระยะแบบง่าย อาศัยความชำนาญเป็นสำคัญ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นการเขียนแบบสถาปัตยกรรม การเขียนแบบนี้ ต้องเขียนมาจากรูปแปลนและรูปด้านตามมาตรส่วนที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง
วิชา Perspective มีความสำคัญดังกล่าวแล้่ว ข้าพเจ้าจึงได้เขียนแบบเรียนวิชาทัศนียวิทยา (Perspective) ขึ้น โดยทำในแบบรูปใบคำสอน (Instruction sheets) เพื่อใช้ประกอบในการสอนและเรียนด้วยตนเองและใช้ได้หลายระดับ ผ้สอน ผุ้เขียนควรเลือกใช้ให้เหมาะกับระดับชั้นเรียนนั้น ๆ
ตอนที่ 1 ความรุ้เบื้องต้นในการออกแบบเขียนแบบ
ตอนที่ 2 การเขียนภาพจุดรวมสายตา 1 จุด (One point perspective)
ตอนที่ 3 การเขียนทัศนียภาพแบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two point perspective)
ตอนที่ 4 การเขียนทัศนียภาพของอาคาร
ตอนที่ 5 การเขียนทัศนียภาพของสิ่งต่าง ๆ