วิชา “กำลังวัสดุ (Strength of Materials)” หรือ “กลศาสตร์วัสดุ (Mechanics of Materials)” เป็นวิชาพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญยิ่งในหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเกือบทุกสาขาวิชา โดยมีวัตถุระสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ ทราบและเข้าใจถึงพฤติกรรมการรับแรงกระทำในลักษณะต่าง ๆ ของชิ้นส่วนโครงสร้างหรือเครื่องจักรกล ทั้งในช่วงอีลาสติกและอินอีลาสติกตามคุณสมบัติทางกลของชิ้นวัสดุ เรียนรู้วิธีัวิเคราะห์ทางทฤษฎีรเพื่อหาหน่วยแรงและความเครียดที่จะเกิดขึ้นในชิ้นส่วนนั้น ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์หาการเปลี่ยนรูปร่างที่จะเกิดขึ้นสำหรับชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นหรือทั้งโครงสร้างที่ได้จากการนำชิ้นวัสดุประกอบรวมกันขึ้นเพื่อการใช้งาน ผลจากการศึกษาในวิชานี้จะนำไปใช้เป็นหลักเบื้องต้นของการวิเคราะห์โครงสร้างตลอดจนวิธีการออกแบชิ้นส่วนของโครงสร้างหรือเครื่องจักรกลต่อไปเมื่อได้ศึกษาในขั้นสูง ซึ่งจะเห็นว่า ต้องคำนึงถึงความแข็งแรง (strength) ความแกร่ง (stiffness หรือ rigidity) และเสถียรภาพ (stability) ของแต่ละชิ้นส่วนหรือทั้งโครงสร้าง
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 ชิ้นส่วนโครงสร้างรับแรงตามแนวแกน
บทที่ 3 ชิ้นส่วนโครงสร้างรับแรงบิด
บทที่ 4 คาน
บทที่ 5 การแอ่นหรือโก่งตัวของคาน
บทที่ 6 หน่วยแรงรวม
บทที่ 7 การวิเคราะห์หน่วยแรงที่จุด
บทที่ 8 การวิเคราะห์ความเครียดที่จุด
บทที่ 9 คานเชิงประกอบและคานโค้ง
บทที่ 10 การต่อยึดชิ้นส่วนโครงสร้าง
บทที่่ 11 คานแบบอินทีเทอร์มิเนท
บทที่ 12 การโก่งเคาะของเสา
บทที่ 13 วิธีพลังงาน
บทที่ 14 แรงกระทำซ้ำและแรงกระแทก
ภาคผนวก
บรรณานุกรม