หนังสือของเสียอันตรายเป็นหนังสือที่ผู้เขียนได้พยายามอย่างมากในการเขียนเล่มนี้จนสำเร็จ ผู้เขียนได้ใช้เวลาอย่างมากในการเขียนเล่มนี้ วิชาของเสียอันตรายเป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างมาก นับวันการใช้สารอันตรายในงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้จะต้องมีบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมและการกำจัดสารอันตราย เพื่อไม่ให้ไปกระทบสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ผู้เขียนได้เล็งเห็นว่ายังไม่มีตำราเกี่ยวกับของเสียอันตรายที่เป็นภาษาไทย ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะต้องการเขียนหนังสือของเสียอันตรายขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
การศึกษาวิชาของเสียอันตรายจะสามารถไปใช้กับการบำบัดน้ำเสีย การควบคุมมลพิษอากาศ และการจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผุ้เขียนมีความสนใจในวิชาด้านนี้เป็นพิเศษ และมีความชอบในวิชาด้านนี้เพราะต้องอาศัยทั้งความรู้ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และอาศัยประสบการณ์ที่ได้ทำวิจัย พัฒนา ออกแบบและปฏิบัติจริงมาแล้ว ดังนั้นในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้แทรกประสบการณ์จริงลงในเนื้อหาเล่มนี้มากพอสมควร
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 แหล่งที่มาและคุณสมบัติ (Sources and Properties)
บทที่ 3 พิษวิทยา (Toxicology)
บทที่ 4 การวิเคราะห์แหล่งกำเนิด (Source Analysis)
บทที่ 5 การเคลื่อนย้ายของสารปนเปื้อน (Contaminant Transport)
บทที่ 6 กระบวนการทางกายภาพและเคมี (Physico-Chemical Processes)
บทที่ 7 กระบวนการทางชีวภาพ (Biological Processes)
บทที่ 8 การปรับเสถียรและการทำก้อนแข็ง (Stabilization and Solidification)
บทที่ 9 การบำบัดด้วยความร้อน (Heat Treatment)
บทที่ 10 การกำจัดบนดิน (Land Disposal)
บทที่ 11 การป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention)
บทที่ 12 การเก็บกักของเสียอันตราย (Storage of Hazardous Wastes)
บทที่ 13 การขนส่งของเสียอันตราย (Transportation of Hazardous Wastes)
บทที่ 14 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)