คู่มือการติดตั้งระบบสายสัญญาณภายในอาคาร

฿300.00

ผศ.ดร.สุรินทร์ กิตติธรกุล

แชร์เล่มนี้

Network Cabling Installation Handbook)

สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย ได้จัดทำแนวทางการติดตั้งเครือข่ายสายสัญญาณเพื่อการสื่อสาร  ซึ่งจะได้เป็นแนวทางสำคัญหนึ่งของประเทศไทยทั้งที่มีหลายส่วนแล้วได้ดำเนินการอยู่  แต่นี่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำคัญเช่นกันด้านการติดตั้งพร้อมความเท่าทันสมัยยิ่งนัก หากจะสื่อกันให้ง่ายและคุ้นเคย น่าจะเรียกว่าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่เครือข่ายที่จะทำไม่ได้เพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หากแต่จะถูกนำไปใช้เพื่อากรสื่อสารอีกมากมายเกือบทุกชนิดทุกอุปกรณ์ จนเราอาจได้มีโอกาสสัมผัสสังคมโลกในอนาคตที่เรียกว่า Ubiquitous Social  สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ไม่จำกัด เช่น ทั้ง PC, Mobile ต่าง ๆ ทั้ง iPAD, Galaxy Tab, เครื่องโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น รวมทั้งการไม่จำกัดแต่ละบุคคลที่มีสัมผัสที่จะเข้าถึงไม่เท่ากันก็สามารถเข้าถึงได้ทัดเทียมกัน ทั้งคนมองไม่เห็นก็สามารถเข้าถึงได้โดยการใช้เสียง เป็นต้น

บทที่หนึ่ง มาตรฐานเครือข่ายภายในอาคาร ชนิดมีสายและไร้สาย เราจะได้สัมผัสกับการเปรียบเทียบคุณลักษณะต่าง ๆ ในด้านความเร็วในการส่งข้อมูล, การนำไปใช้งานและข้อจำกัด ตามข้อกำหนดของ IEEE 802.3 เป็นลำดับ ที่มีองค์ประกอบเป็น Core Layer, Distribution Layer, Access Layer มีการใช้งานในมิติต่าง ๆ พร้อมแนวความคิดการส่งสัญญาณในสาย Fiber Optic ตอนท้ายยังได้รู้จัดกับ Wi-Fi พื้นฐานและตัวอย่างการใช้งาน

บทที่สอง การติดตั้งสายสื่อสัญญาณโดยภาพรวม มีการพูดถึงมาตรฐานต่าง ๆ โดยมีตัวอย่างการติดตั้งมากมาย และข้อกำหนดที่น่าจะได้รับราบซึ่งการกำหนดก็คล้ายกับของไฟฟ้าจะแตกต่างกันบ้างก็เห็นจะเป็นรายละเอียดลองอ่านเพิ่มเติมได้ ตอนท้ายยังได้รวบรวมการเก็บความเรียบร้อยสมบูรณ์ของการจัดการการเดินสาย โดยในหนังสือใช้ว่า บริหารการเดินสาย cabling management แล้วลงท้ายด้วยการทำเครื่องหมายการเดินสายในส่วนต่าง ๆ cable marker

บทที่สาม การติดตั้งสายสื่อสารทองแดง เริ่มตั้งแต่การทำความรู้จักกับสายชนิด UTP เมื่อนำมาติดตั้งจนได้ชื่อว่า สายแนวนอน horizontal cable ตามมาตรฐาน EIA/TIA – 568c แล้วจะได้ผลการใช้งานได้ถึง 10 Gbps พร้อมแนะนำสายต่อเชื่อม patch cord

สำหรับนักออกแบบก็สามารถศึกษาแนวทางการกำหนดตำแหน่งเต้ารับสื่อสารได้ในบทนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังได้เสนอการทดสอบต่าง ๆ แต่ผมอยากชี้ถึงความดีของหนังสือเล่มนี้คือ ตัวอย่างรายงานพร้อมอธิบายความหมายทุกแง่ทุกมุมอย่างหมดเปลือกซึ่หาไม่ได้จากสื่ออื่นอย่างเช่น ความหมายโดยละเอียด NEXT, FEXT เป็นต้น

บทที่สี่ การติดตั้งสายสื่อสัญญาณไฟเบอร์ ออปติค (Fiber Optic) เราจะได้เรียนรู้โครงสร้างสายไฟเบอร์ ออปติคไปด้วยกัน และอื่น ๆ อีกหลายเรื่องอย่างรูปแบบการติดตั้งสายไฟเบอร์ ออปติค, การเชื่อมต่อสายไฟเบอร์ออปติค (Splicing) พร้อมแสดงวิธีการต่อสายหลายรูปแบบ

หนังสือเล่มนี้ยังได้นำเสนอรูปแบบขั้วต่อไฟเบอร์ ออปติคแบบต่าง ๆ มากมาย อย่างที่มีใช้ส่วนใหญ่ในโลกนี้เลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็น FC,ST,SC และ LC นอกจากจะแนะนำให้รู้จักขั้วต่อสายแล้วยังได้นำเสนอวิธีการทำหัวสายไฟเบอร์ ออปติคโดยละเอียด ซึ่งดูแล้วสามารถใช้ทบทวนสิ่งที่ได้เคยทำ, เคยเรียน และเคยทำได้เป็นอย่างดี

บทที่ห้า การติดตั้งสื่อสัญญาณ Wi-Fi เป็นการนำเสนอการแผ่ของคลื่นและการจัดอุปกรณ์สำหรับอาคาร 1 ชั้น, อาคาร 2 ชั้น และอาคารหลายชั้นพร้อมคำแนะนำในการติดตั้ง ตอนท้ายของบทนี้ยังได้แสดงตัวอย่างการ Setup รูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถประยุกต์นำไปใช้กับี่ห้ออื่นได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก