คู่มือการลดค่าไฟฟ้า

฿270.00

อ.ไชยะ แช่มช้อย

พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2544

จำนวน 280 หน้า

แชร์เล่มนี้

หากผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ย่อมทำให้ผลประกอบการของผู้ใช้ไฟฟ้าดีขึ้น เพราะมีต้นทุนด้านพลังงานลดลง การลดค่าไฟฟ้าสามารถดำเนินการได้ 2 แนวทางหลัก คือ การบริหารจัดการการใช้โหลดหรือการควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า

ผู้เขียนจึงได้พยายามเรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการลดค่าไฟฟ้า โดยเขียนออกมาเป็น 2 ส่วนคือ การลดค่าไฟฟ้าโดยการควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้า และการเพิ่มสมรรถนะของระบบไฟฟ้าด้วยการเพิ่มค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ โดยแต่ละส่วนนั้นได้อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ จนมั่นใจว่าผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง พร้อมทดลองปฏิบัติและตรวจสอบผลได้ว่าสัมฤทธิ์ผลมากน้อยเพียงใด

ส่วนที่ 1:  การลดค่าไฟฟ้าโดยการควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้า

1.1  การกำหนดประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า

1.2  ส่วนประกอบของค่าไฟฟ้า

1.3  รูปแบบอัตราค่าไฟฟ้า

1.4  อัตราค่าไฟฟ้า

1.5  การคิดค่าไฟฟ้า

1.6  แนวทางการลดค่าไฟฟ้าเบื้องต้น

1.7  ตัวประกอบโหลดหรือโหลดแฟคเตอร์

1.8  ความสัมพันธ์ของค่าไฟฟ้ากับลักษณะการใช้ไฟฟ้า

1.9  แนวทางการลดค่าไฟฟ้า

1.10  การประเมินศักยภาพการลดค่าไฟฟ้า

1.11  การเลือกอัตราค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม

1.12  การวัดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด

1.13  การหาข้อมูลการใช้ไฟฟ้ารายวันหรือการหาเส้นโค้งของโหลดรายวัน

1.14  การหาข้อมูลการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า

1.15  ขั้นตอนการดำเนินการควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้า

1.16  วิธีการควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด

1.17  เครื่องควบคุมความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด

1.18  สรุป

ส่วนที่ 2:  การเพิ่มสมรรถนะของระบบไฟฟ้าด้วยการเพิ่มค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.1  เพาเวอร์แฟคเตอร์ของโรงงานอุตสาหกรรม

2.2  หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.3  คำจำกัดความของเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.4  ประโยชน์จากกรเพิ่มค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.5  การเพิ่มค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.6  ขนาดของกำลังงานรีแอคตีฟที่ใช้ปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์

2.7  ตำแหน่งที่ติดตั้งตัวเก็บประจุ

2.8  การเลือกขนาดของตัวเก็บประจุ

2.9  การเลือกขนาดสายไฟ ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์และคอนแทคเตอร์แม่เหล็ก

2.10  ความเสียหายในระบบไฟฟ้าที่เกิดจากสภาวะเรโซแนนซ์

2.11  การประยุกต์ใช้ตัวกรองดีจูน

2.12  การปรับตั้งค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ที่เหมาะสม

2.13  การกำหนดขนาดของตัวกรองดีจูน

ภาคผนวก ก.  อัตราค่าไฟฟ้า

ภาคผนวก ข.  รายละเอียดของข้อมูลจากหนังสือแจ้งค่าไฟฟ้า