คู่มือการออกแบบระบบระบายน้ำเสียและน้ำฝน
฿400.00
รศ.ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์
จำนวนหน้า 354 หน้า
พิมพ์ครั้งที่ 6 ตุลาคม 2554
ผู้เขียนตั้งใจเขียนหนังสือเล่มนี้ให้เป็นคู่มือสำหรับวิศวกรประกอบใช้ในการออกแบบระบบระบายน้ำให้ดีที่สุด โดยได้พยายามรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบทั้งตัวท่อระบายเอง องค์อาคารประกอบ เช่น บ่อตรวจระบาย บ่อสูบ การกำหนดเครื่องสูบ ตลอดไปจนถึงรายละเอียดประกอบการคำนวณต่าง ๆ เช่น ความเข้มฝน ตารางการคำนวณน้ำไหลไม่เต็มท่อ และตัวอย่างของการออกแบบลักษณะต่าง ๆ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเพราะแม้จะเลือกขนาดท่อหรือความลาดท่อดีอย่างไร ถ้าการออกแบบส่วนประกอบไม่ดีให้ประกอบไปด้วยกัน ระบบระบายก็จะสัมฤทธิผลไปไม่ได้เป็นอันขาด
ในปัจจุบันการออกแบบหรือเลือกขนาดท่อระบายน้ำมักกระทำกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพราะให้ผลที่แม่นยำกว่ารวมทั้งคลาดเคลื่อนหรือมีข้อผิดพลาดน้อยกว่า การออกแบบก็สมารถทำได้ละเอียดจนสามารถบ่งลักษณะของน้ำย้อนกลับ (backup water) ได้ ทว่าในที่นี้ได้เพียงแต่พยายามจัดหาข้อมูลให้วิศวกรใช้งานได้สะดวกและให้รู้ถึงหลักการออกแบบให้มากที่สุด การที่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณมาอย่างละเอียดจนรู้ถึงระดับน้ำย้อนกลับจะไม่มีประโยชน์อันใดเลยถ้าวิศวกรใช้อัตราฝนหรืออัตราไหลผิด นอกจากนี้ยังอาจทำให้วิศวกร “หลงผิด” ไปกับข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ได้ เพราะอัตราไหลของน้ำในท่อขึ้นอยู่กับอัตราฝนซึ่งธรรมชาติเท่านั้นที่จะเป็นตัวกำหนด
บทที่ 1 ความจำเป็น และองค์กรที่เกี่ยวข้องของระบบระบายน้ำ
บทที่ 2 ระบบท่อระบาย
บทที่ 3 ปริมาณน้ำเสียชุมชนและการแปรผัน
บทที่ 4 ปริมาณน้ำฝนและการระบาย
บทที่ 5 อ่างเก็บน้ำฝน
บทที่ 6 การออกแบบระบบท่อระบาย
บทที่ 7 ชลศาสตร์งานระบายน้ำ
บทที่ 8 สิ่งปลูกสร้างประกอบระบบระบาย
บทที่ 9 เครื่องสูบ และระบบสูบ
บทที่ 10 การออกแบบสถานีและบ่อสูบ
บทที่ 11 ระบบของสถานีสูบ
ภาคผนวก
ก. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้ม-ความนาน-ความถี่ ของฝน
ข. โมโนกราฟสำหรับสมการแมนนิ่ง
ค. ตารางสำหรับการออกแบบท่อ กรณีไหลไม่เต็มท่อถนน
ง. ตัวอย่างรูปแบบรางระบายน้ำฝน
จ. สัมประสิทธิ์การสูญเสียรอง
ฉ. การสั่งเดินและตัดเครื่องสูบ
ช. บ่อสูบราคาเยาสำหรับเครื่องสูบแช่น้ำดรรชนีขนาดใหญ่