“คุณภาพไฟฟ้า” ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน เพราะไฟฟ้าได้ถูกจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิต (การไฟฟ้าฯ) ต้องควบคุมคุณภาพให้้เป็นไปตามกฏ ระเบียบ หรือ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภค (ผู้ใช้ไฟฟ้า) ได้มีโอกาสใช้สินค้าที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
คุณภาพไฟฟ้า (PQ) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่อง ควารมเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) โดยพิจารณาเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าที่วิ่งไปตามสายไฟฟ้าเท่านั้น ปัจจุบันการรบกวนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้า อาทิเช่น แรงดันเกินชั่วครู่ แรงดันตกชั่วขณะ ฮาร์มอนิกส์ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มากกว่าในอดีต ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์สมัยใหม่หลายชนิดมีส่วนประกอบจำพวกไมโครโพรเซสเซอร์รวมอยู่ด้วย ซึ่งไวต่อการรบกวนขนาดเล็กที่ไม่เคยทำให้อุปกรณ์รุ่นเก่าได้รับผลกระทบ คุณภาพไฟฟ้าเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับผลกระทบทั้งจากธรรมชาติ เช่น เกิดแรงดันชั่วครู่จากฟ้าผ่า จากอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าเสื่อมสภาพทำให้เกิดความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าที่เป็นสาเหตุหลักของแรงดันตกชั่วขณะ ตลอดจนเกิดจากผุ้ใช้ไฟฟ้าเอง เช่น ใช้โหลดที่สร้างกระแสฮาร์มอนิกส์ ใช้โหลดที่มีกระแสกระเพื่อมสูง หรือ กระแสไม่ได้ดุล เป็นต้น ดังนั้นทั้งการไฟฟ้า ฯ และ ผู้ใช้ไฟฟ้าจึงต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและควบคุมคุณภาพไฟฟ้าโดยตรง
บทที่ 1 บทนำด้านคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 2 มาตรฐานด้านคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 3 ปรากฏการณ์ด้านคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 4 การตรวจวัดและการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 5 การนำเสนอและการใช้ประโยชน์ข้อมูลคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 6 ผลกระทบและความเสียหายจากปัญหาด้านคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 7 เทคนิคการแก้ปัญหาคุณภาพไฟฟ้า
บทที่ 8 การออกแบบและใช้งานตัวกรองฮาร์มอนิกแบบดีจูน