คู่มือวิศวกรรมฐานราก

฿699.00

ดร.พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล

จำนวน 876 หน้า

แชร์เล่มนี้

หนังสือเล่มนี้เกิดจากกลั่นกรองประสบการณ์การทำงานตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี ผนวกกับการสังเคราะห์ความรู้ที่ทันสมัย อีกทั้งได้สอดแทรกตัวอย่างประกอบในแต่ละบทเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนเป็นการยกตัวอย่างปัญหาที่ประสบจริงจากการทำงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อนึ่ง การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปี พงศ. 2558 ก่อให้เกิดแนวโน้มการแลกเปลี่ยนแรงงานวิชาชีพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงวิชาชีพวิศวกรโยธา ผู้เขียนจึงได้กำกับคำศัพท์เทคนิคเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อสื่อสาร และการทำงารร่วมกันกับวิศวกรชาวต่างชาติ และเอื้อต่อการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในภายภาคหน้า

หนังสือ “คู่มือวิศวกรรมฐานราก” เล่มนี้ครบถ้วนไปด้วยเนื้อหาทางวิชาการและวิชาชีพ เหมาะสำหรับวิศวกรโยธาที่จะนำไปใช้ประกอบวิชาชีพทั้งงานออกแบบและงานก่อสร้าง หรือนำไปใช้เสริมการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เตรียมตัวสอบเป็นภาคีวิศวกรโยธาหรือเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกรโยธา รวมถึงผู้ที่ต้องการทดสอบความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธาในต่างประเทศ เพื่อยกระดับวิชาชีพของตนเองสู่สากลอีกด้วย

ในหนังสือคู่มือเล่มนี้ ได้ลำดับเรื่องปูพื้นตั้งแต่คุณสมบัติทางธรณีเทคนิคของดิน การสำรวจชั้นดิน ภาคสนาม น้ำใต้ดิน ฐานรากชนิดต่าง ๆ กำแพงกั้นดิน เข็มพืด การค้ำยัน เสถียรภาพของลาดดิน การปรับปรุงคุณภาพดิน การก่อสร้างอุโมงค์ การประเมินความเสียหาย และได้เพิ่มเติมเรื่อง ธรณีเทคนิคเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งภาคผนวกที่สามารถจะใช้ในงานออกแบบ หรือใช้ในงานสนาม พร้อมด้วยตัวอย่างตารางคำนวณที่สะดวกในการจะนำไปใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว

บทที่ 1 คุณสมบัติทางธรณีเทคนิคของดิน

บทที่ 2 การสำรวจชั้นดินภาคสนาม

บทที่ 3 น้ำใต้ดิน

บทที่ 4 ฐานรากตื้น

บทที่ 5 ฐานรากยืด ฐานรากร่วม และฐานรากพรม

บทที่ 6 ฐานรากเสาเข็ม

บทที่ 7 ความดันด้านข้างของดินและกำแพงกันดิน

บทที่ 8 กำแพงเข็มพืด

บทที่ 9 งานขุดดินใช้ค้ำยันหลายระดับ

บทที่ 10 เสถึยรภาพของลาดดิน

บทที่่ 11 การปรับปรุงคุณภาพดิน

บทที่ 12 ธรณีเทคนิคเพื่อสิ่่งแวดล้อม

บทที่ 13 การก่อสร้างอุโมงค์

บทที่ 14 การประเมินความเสียหาย

ภาคผนวก

ก. การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีกำลัง

ข. คุณสมบัติของรูปหน้าตัดและวัสดุ

ค. พารามิเตอร์ของมวลหิน

ง. สมการจุดต่อผลต่างสืบเนื่องสำหรับการไหล 2 มิติ

จ. พารามิเตอร์แบบจำลองดิน