โครงสร้างเหล็ก นับว่าเป็นระบบโครงสร้างที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องกับงานก่อสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ด้วยหลากเหตุหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าก่อสร้างที่คุ้มค้่ามากยิ่งขึ้น จากการลดแรงงานก่อสร้างที่อัตราค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิม และการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานก่อสร้างที่หน้างาน ตลอดจนการบรรเทาปัญหาค่าพลังงาน ด้วยโครงสร้างเหล็กมีน้ำหนักเบา สามารถขนส่งได้สะดวก ใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ขนาดไม่ใหญ่มาก ลดจำนวนการขนส่งวัสดุเข้าสู่หน้างาน ลดจำนวนครั้งในการยกติดตั้ง ทั้งยังสามารถแปรรูปทำเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาจากโรงงานเพื่อมาประกอบติดตั้งที่หน้างาน นอกจากนี้เหล็กยังเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% การใช้ระบบโครงสร้างเหล็กจึงมีนัยสำคัญต่อการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ของภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมก่อสร้าง และเศรษฐกิจคาร์บอกต่ำ (low-carbon economy) ของประเทศในอนาคต
บทที่ 1 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็กสำหรับงานก่อสร้าง
บทที่ 2 กฏหมาย มาตรฐาน แนวปฏิบัติ
บทที่ 3 แรง
บทที่ 4 เสถียรภาพของโครงสร้าง
บทที่ 5 กำลังของโครงสร้างรับแรงอัด
บทที่ 6 กำลังของโครงสร้างรับแรงดัด
บทที่ 7 กำลังของโครงสร้างรับแรงอัดและแรงดัด
บทที่ 8 กำลังรับน้ำหนักของจุดต่อ
บทที่ 9 พื้นฐานการออกแบบระบบโครงสร้างเหล็กต้านทานแรงแผ่นดินไหว
บทที่ 10 การออกแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้ดี
บทที่ 11 การออกแบบเพื่อให้เกิดความคงทน
บทที่ 12 ศิลปะในการออกแบบระบบอาคารโครงสร้างเหล็ก
บทที่ 13 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านงานก่อสร้าง