ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ ทฤษฏีและการใช้งาน
฿195.00
พิชญ ดาราพงษ์
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549
จำนวน 304 หน้า
ระบบจำนวนเลขและรหัส เป็นการแปลงเลขในระบบฐานสิบให้เเป็นเลขระบบฐานอื่น เพื่อสื่อสารเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ได้ นอกจากนี้ยังได้นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้สร้างสัญญาณดิจิตอลและสวิตช์เพื่อให้เกิดความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของดิจิตอล หลักการทำงานของเกตชนิดต่าง ๆ ได้อธิบายถึงโครงสร้างของวงจรพื้นฐานเกต การออกแบบวงจรคอมไบเนชั่นลอจิก เทคนิคการลดรูปด้วยสมการทางพีชคณิตบูลีน ผังคานเนาว์ รวมทั้งการนำไอซีเกตต่าง ๆ มาสร้างเป็นวงจรทางคณิตศาสตร์ การเข้ารหัสและถอดรหัสการแสดงผลบนตัวแสดงผล การสร้างวงจรแหล่งจ่ายไฟให้กับไอซีทีทีแอลและสัญญาณเวลา การใช้งานของไอซีมัลติเพล็กเซอร์และดีมัลติเพล็กเซอร์ การเปรียบเทียบแสดงคุณลักษณะของไอซีตระกูลลอจิก การออกแบบวงจรซีเควนเชียลลอจิกทั้งแบบซิงดครนัสและอะซิงโครนัส เทคนิคการใช้ฟลิปฟลอปและการประยุกต์ใช้งานงานของจรนับ วงจรชิฟรีจิสเตอร์ หลักการพิจารณาในการออกแบบวงจรดิจิตอล การต่อใช้งานร่วมกันของไอซีทีทีแอลและซีมอส การแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อก การขยายหน่วยความจำ และการใช้แอดเดรส ตลอดจนคำเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิตอลสมัยใหม่
บทที่ 1 ระบบจำนวนเลขและรหัส
บทที่ 2 สัญญาณดิจิตอลและสวิตช์
บทที่ 3 พื้นฐานเกต
บทที่ 4 พีชคณิตบูลีนและเทคนิคการลดรูปสมการ
บทที่ 5 เอกช์คลูซีฟ OR และเอกช์คลูซีฟ NOR เกต
บทที่ 6 คณิตศาสตร์และวงจร
บทที่ 7 การเข้ารหัสและถอดรหัส ไอซีมัลติเพล็กเซอร์และดีมัลติเพล็กเซอร์
บทที่ 8 ไอซีตระกูลลอจิกและคุณลักษณะ
บทที่ 9 ฟลิปฟลอป
บทที่ 10 หลักการพิจารณาออกแบบวงจรดิจิตอล
บทที่ 11 วงจรนับ
บทที่ 12 ชิฟรีจิสเตอร์
บทที่ 13 การแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อก
บทที่ 14 หน่วยความจำ
เสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิตอลสมัยใหม่
เอกสารอ้างอิง