มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ.2565
฿300.00
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2565
จำนวน 156 หน้า
ระบบผลิตพลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ที่สภาวะปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านประสิทธิภาพ ความสะดวกและความปลอดภัย ทางสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดยสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุง มาตรฐานการติดตั้งระบบผลิตพลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ฉบับ พฤศจิกายน พ.ศ.2559
ประเด็นสำคัญของการมาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้ ได้แก่
1. ขยายขอบเขตการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ที่รวมถึงระบบจัดกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า (battery energy storage system,BESS) อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าพื่อประจุและคายประจุไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่
2. ขยายขอบเขต PV array ที่ติดตั้งใช้งานบนอาคารต้องมีค่า V oc array สูงสุด ดังนี้
– แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน 1000 โวลต์ สำหรับอาคารที่พักอาศัย
– แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไม่เกิน 1500 โวลต์ สำหรับอาคารอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย
3. เพิ่มข้อบังคับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน (rapid shutdown)
มาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้ยังคงรายละเอียด ของการออกแบบและติดตั้งของอุปกรณ์ไฟฟ้าในส่วนของระบบไฟฟ้าที่เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้านกระแสตรง สำหรับระบบไฟฟ้าด้านกระแสสลับจะต้องออกแบบและติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย วสท.
บทที่ 1 บทนำและเรื่องทั่วไป
บทที่ 2 รูปแบบของการต่อ PV Array
บทที่ 3 ประเด็นด้านความปลอดภัย
บทที่ 4 การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
บทที่ 5 ระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่
บทที่ 6 การทำสัญลักษณ์และเอกสาร
ภาคผนวก ก. การต่อลงดินและการแยกวงจรกระแสตรง
ภาคผนวก ข. ข้อแนะนำสำหรับการรักษา
ภาคผนวก ค. การทดสอบและกระบวนการทดสอบก่อนใช้งาน
ภาคผนวก ง. กระบวนการทดสอบก่อนใช้งาน-เพิ่มเติม
ภาคผนวก จ. การป้องกันผลกระทบของฟ้าผ่าและแรงดันเกิน
ภาคผนวก ฉ. องค์ประกอบของระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่
ภาคผนวก ช. การจำแนกประเภทแรงดันไฟฟ้าแบบเด็ดขาด
ภาคผนวก ซ. การต่อลงดินสำหรับระบบแบตเตอรี่
ภาคผนวก ฌ. การออกแบบสายไฟ PV Cable