มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ.2564

฿500.00

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2565
จำนวน 378 หน้า

แชร์เล่มนี้

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 ได้ใช้งานมาแล้วระยะหนึ่งนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านวัสดุ อุปกรณ์ การติดตั้ง และมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตสายไฟฟ้าที่จัดทำโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 11-2553 และ มอก. 11 เล่ม 101-2559 ประกอบกับมีข้อบกพร่องบางประการที่ตรวจพบ ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าฯ นี้ขึ้น มาตรฐานฉบับนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ บทที่ 7 บริเวณอันตราย ซึ่งมีเนื้อหามากจึงจำเป็นต้องแยกออกเป็นอีกเล่มต่างหาก โดยในฉบับนี้จะยังคงไว้เฉพาะฉบับย่อเท่านั้น และบทที่ 11 มาตรฐานการทนไฟของสายไฟฟ้า ย้ายไปไว้ในบทที่ 2 มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนั้นบทที่ 11 จึงว่างไว้

เนื่องจากมาตรฐานฯ นี้พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2545 มีการปรับปรุง เมื่อ พ.ศ.2551 และ 2556 ปัจจุบันเป็นฉบับพ.ศ. 2564 จึงอาจทำให้หลายหน่วยงานที่อ้างอิงมาตรฐานฯ นี้เกิดความสับสนว่าการอ้างอิงที่ระบุไว้แต่เดิมนั้นให้ยึดถือชื่อ “มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย” เป็นหลักโดยให้ถือว่าพ.ศ.ที่ต่อท้ายมาตรฐาน ฯ นั้นเป็นเพียงส่วนเสริมที่ใช้แสดงปีที่จัดทำเท่านั้น ในการอ้างอิงให้ถือตามฉบับล่าสุด นอกจากจะระบุไว้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น

บทที่ 1    นิยามและข้อกำหนดทั่วไป

บทที่ 2    มาตรฐานสายไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า

บทที่ 3    ตัวนำประธาน สายป้อน วงจรย่อย

บทที่ 4    การต่อลงดิน

บทที่ 5    ข้อกำหนดการเดินสายและวัสดุ

บทที่ 6    บริภัณฑ์ไฟฟ้า

บทที่ 7    บริเวณอันตราย (ฉบับย่อ)

บทที่ 8    สถานที่เฉพาะ

บทที่ 9    อาคารชุด อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ

บทที่ 10  บริภัณฑ์เฉพาะงาน

บทที่ 11  (ว่าง)

บทที่ 12 วงจรไฟฟ้าช่วยชีวิต

บทที่ 13  อาคารใต้ผิวดิน (Sub-Surface Building)

บทที่ 14  กาติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราว

ภาคผนวก ก.  คำศัพท์อังกฤษ-ไทย

ภาคผนวก ข.  คำศัพท์ไทย-อังกฤษ

ภาคผนวก ค.  ระยะในการติดตั้งระบบไฟฟ้ากับระบบอื่น ๆ

ภาคผนวก ง. เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60898 หรื่อ IEC 898

ภาคผนวก จ. เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60947-2 หรือ IEC 947-2

ภาคผนวก ช.  ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการป้องกันไฟดูด (IEC 60536)

ภาคผนวก ซ.  ตารางเปรียบเทียบระหว่าง NEMA Enclosure Type และ IP Class Protection (IEC Standard)

ภาคผนวก ฌ.  ดีมานด์แฟกเตอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบส่วนกลาง (Central) และโหลดเครื่องปรับอากาศแต่ละชนิด

ภาคผนวก ญ.  วิธีการหาขนาดสายดินของวงจรย่อย

ภาคผนวก ฎ.  จำนวนสูงสุดของสายไฟฟ้าขนาดเดียวกันในท่อร้อยสาย

ภาคผนวก ฎ.  Utillization Categories for Contactors and Motor-stariers

ภาคผนวก ฐ.  แรงดันตก

ภาคผนวก ฑ  อุปกรณ์ตรวจจับอาร์กฟอลต์

ภาคผนวก ฒ  ตัวอย่าง ข้อกำหนดการใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) ในสถานที่เฉพาะ

ภาคผนวก ด  รหัสสีและสีสัญลักษณ์ที่ใช้ในการติดตั้งงานระบบ

ภาคผนวก ต  การคำนวณขนาดกล่องสำหรับงานไฟฟ้า