การพิมพ์ครั้งที่ 17 ผู้เขียนยังคงเนื้อหาเดิมทุกประการ ผู้ที่ใช้หนังสือเพื่อการศึกษาหรือปฏิบัติงาน ยังคงสามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมสำรวจ
ผู้เขียนได้รับการร้องเรียนจากนักศึกษาวิศวกรรมโยธามาว่าในหนังสือมีตัวอย่างการคำนวณน้อย และแบบฝึกหัดที่ทำก็ตรวจสอบไม่ได้ จึงอยากให้ผุ้เขียนทำตัวอย่างการคำนวณ และเฉลยแบบฝึกหัด
ผู้เขียนจึงได้ทำหนังสือเฉลยแบบฝึกหัดตั้งแต่บทที่ 1 ถึง บทที่ 8 ของหนังสือวิศวกรรมสำรวจ 1 รวมตัวอย่างการคำนวณใหม่ ๆ เพิ่มเติมพิเศษอีกเป้นจำนวนมาก ผู้เขียนใช้ชื่อหนังสือว่า การคำนวณงานวิศวกรรมสำรวจ 1 (Surveying Engineering Computation 1) ขณะนี้ได้พิมพ์จำหน่ายแล้ว
บทที่ 1 วิวัฒนาการแผนที่ในเมืองไทย
บทที่ 2 การสำรวจและการทำแผนที่ (Surveying and Mapping)
บทที่ 3 การวัดระยะ (Distance Measurement)
บทที่ 4 การสำรวจด้วยเข็มทิศ (Compass Surveying)
บทที่ 5 กล้องวัดมุม (Transit Theodolite)
บทที่ 6 การทำวงรอบ (Traversing)
บทที่ 7 การคำนวณพิกัดฉาก (Computation of Rectangular Coordinate)
บทที่ 8 การคำนวณเนื้อที่
บทที่ 9 การระดับ (Levelling)
บทที่ 10 การปรับแก้ค่าระดับเบื้องต้น
บทที่ 11 การทำระดับตรีโกณ (Trigonometrical Levelling)
บทที่ 12 เส้นชั้นความสูง (Contouring)
บทที่ 13 การวัดระยะด้วยกล้อง Optical Theodolite (Tacheometry)
บทที่ 14 การสามเหลี่ยมเบื้องต้น (Elementary Triangulation)