เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ ทฤษฏีและการประยุกต์ในระบบการวัดและระบบควบคุม

฿380.00

ผศ.ดร.วรพงศ์ ตั้งศรีรัตน์

พิมพ์ครั้งที่ 9 พฤศจิกายน 2556

จำนวน 292 หน้า

แชร์เล่มนี้

หนังสือ “เซนเซอร์และทรานสดิเซอร์ : ทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ในระบบการวัดและระบบควบคุม” เล่มนี้ กล่าวถึงคุณสมบัติและหลักการทำงานของเซนเซอร์แบบต่าง ๆ เทคนิคการปรับแต่งสภาพสัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบสัญญาณขององค์ประกอบส่วนถัดไปของระบบ รวมทั้งแนวคิดในการประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ในระบบการวัดและระบบควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม โดยเขึยนขึ้นจากการวบรวมข้อมูลที่ได้จากการค้นค้าวิจัยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และได้กลั่นกรองจากประสบการณ์ในการสอนของผู้เขียนในหลายสถาบันจนกลายเป็นผลึกแห่งความคิดซึ่งได้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้

การดำเนินเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยทั้งหมด 11 บท โดยเริ่มจากบทที่ 1 ซึ่งเป็นการแนะนำให้รู้จักกับคุณสมบัติพื้นฐานของเซนเซอร์ กล่าวถึงเหตุผลและหน้าที่ความสำคัญของเซนเซอร์ในระบบการวัดและระบบควบคุม ในบทที่ 2 จนถึงบทที่ 7 จะเป็นการกล่าวถึงดครงสร้างคุณสมบัติการทำงาน และตัวอย่างการต่อวงจรใช้งานจริงของเซนเซอร์แบบต่าง ๆ ส่วนบทที่ 8 ได้อธิบายถึงเทคนิคและการออกแบบวงจรปรับแต่งสภาพสัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์เพื่อให้สามารถต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ส่วนถัดไปได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ บทที่ 9 อธิบายถึงชนิดและคุณสมบัติในการทำงานของหน่วยแสดงผลและบันทึกข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะนำสัญญารเอาต์พุตที่ได้จากการตรวจวัดด้วยเซนเซอร์ไปทำการแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ สำหรับบทที่ 10 และบทที่ 11 นั้นได้กล่าวถึงแนวคิดในการนำเอาเซนเซอร์ไปประยุกต์ใช้งานในระบบการวัดและระบบควบคุม

บทที่ 1 แนะนำให้รู้จักเซนเซอร์

บทที่ 2 เซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ

บทที่่ 3 เซนเซอร์ตรวจวัดระยะขจัดและการเคลื่อนที่

บทที่่ 4 เซนเซอร์ตรวจวัดแรงกระทำทางกล

บทที่ 5 เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาตร น้ำหนัก และระดับของเหลว

บทที่่ 6 เซนเซอร์ตรวจวัดความดันอากาศ

บทที่ 7 เซนเซอร์ตรวจวัดการไหลและอัตราการไหล

บทที่ 8 การปรับแต่งสภาพสัญญาณและการต่อเชื่อมสัญญาณที่ได้จากเซนเซอร์

บทที่ 9 หน่วยแสดงผลและบันทึกข้อมุล

บทที่ 10 การประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ในระบบการวัด

บทที่ 11 การประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ในระบบควบคุม