บ่อยครั้งที่โครงการก่อสร้างประสบกับปัญหา เนื่องจากวิศวกรผู้เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลชั้นดินที่ผิดพลาด หรือไม่เพียงพอในการออกแบบและก่อสร้าง ปัญหาที่ครอบคลุมถึงการก่อสร้างที่ล่าช้าไปจนถึงกับการวิบัติของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียกระทั่งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล คณะอนุกรรมการฯ จึงดำริที่จะผลิตหนังสือแนวทางการตรวจสอบชั้นดินเพื่องานฐานราก ซึ่งรวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับงานสำรวจชั้นดินเพื่อเผยแพร่ให้วิศวกร ผู้ประกอบการ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในงานวิศวกรรมโยธาใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการศึกษา และใช้เป็นแนวทางในการสำรวจชั้นดิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอในการวางแผน ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อย่างปลอดภัยและประหยัด
หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมทุกแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจชั้นดิน ซึ่งรวมถึงเหตุผลและความจำเป็ฯในการสำรวจชั้นดิน วิธีการสำรวจชั้นดินที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย การเก็บตัวอย่างดิน การทดสอบในที่ (In-SituTest) เป็นต้น
ภาคที่ 1 ความสำคัญและความต้องการในการตรวจสอบสภาพชั้นดิน
1.1 บทนำ
1.2 ความสำคัญและความจำเป็นในการตรวจสอบสภาพชั้นดิน
1.3 ปัจจัยที่ควรคำนึงึง และเป็นตัวกำหนดในการเจาะสำรวจชั้นดิน
1.4 ความลึก ระยะห่าง และจำนวนหลุมเจาะ
1.5 ความคุ้มค่าและผลตอบแทนจากการลงทุน
1.6 การตรวจสอบและการประกันผลงาน
ภาคที่ 2 ข้อกำหนด วิธีการ และชนิดของการสำรวจสภาพชั้นดิน
2.1 การก่อตัว การกำเนิด และลักษณะของชั้นดิน
2.2 วิธีการสำรวจสภาพชั้นดินที่นิยมใช้ในประเทศไทย
2.2.1 การเตรียมการ และการวางแผนงาน
2.2.2 วิธีการเจาะหลุมสำรวจ
2.2.3 การเก็บตัวอย่างดิน
2.2.4 การทดสอบในที่ (In-Situ Test)
2.2.5 การหยั่งสำรวจ
2.2.6 การตรวจหาระดับน้ำใต้ดิน
2.2.7 การสำรวจโดยใช้กระแสไฟฟ้า/คลื่นสั่นสะเทือน (Geophysical Method)
คำอธิบายศัพท์
เอกสารอ้างอิง
ภาคผนวก
ตัวอย่างผลการเจาะหลุมสำรวจและการทดสอบชั้นดิน
ตัวอย่างผลการทดสอบ ซี พี ที
ตัวอย่างการหยั่งสำรวจด้วยวิธีการตอก
สารบัญรูป
รูป 2.1 เครื่องมือการทำหลุมเจาะล้าง (Wash Boring)
รูป 2.2 เครื่องมือการทำหลุมเจาะปั่น (Rotary Drilling)
รูป 2.3 อุปกรณ์การเจาะสว่านและใบสว่าน
รูป 2.4 หัวเก็บกรวด-ทรายชนิดพิเศษ : แซนด์ปั๊ม (Sand Pump)
รูป 2.5 การทำเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 เมตร ในงานก่อสร้างฐานราก
รูป 2.6 ขยายมิติกระบอกบางเก็บตัวอย่าง
รูป 2.7 วิธีการเก็บตัวอย่างกระบอกบาง
รูป 2.8 การเก็ฐตัวอย่างกระบอกสูบ-ชัก (Stationary Piston Samplers)
รูป 2.9 ขยายรายละเอียดอุปกรณ์และระบบเก็บตัวอย่างกระบอกสูบ-ชัก
รูป 2.10 กระบอกผ่าเก็บตัวอย่าง (สามารถเปิดแยกออกได้เป็น 2 ซีก)
รูป 2.11 หัวเก็บกระบอก 3 ชั้น แบบปลายยื่น-หดได้
รูป 2.12 ตุ้มตอกสำหรับการทดสอบฝังจมมาตรฐาน (SPT) แบบโดนัทและแบบแท่งยาว
รูป 2.13 ตุ้มตอกสำหรับการทดสอบฝังจมมาตรฐาน (SPT) แบบอัตโนมัติ
รูป 2.14 เครื่องมือการทดสอบใบเฉือนแบบจีโอนอร์ (Geonor)
รูป 2.15 อุปกรณ์ทดสอบใบเฉือนแบบพกพก “ทอร์เวน” (Torvane)
รูป 2.16 อุปกรณ์การทดสอบแรงแบ่งอัดในหลุมเจาะ (Pressuremeter Test)
รูป 2.17 ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของเซลล์ กับแรงแบ่งอัดของเซลล์
รูป 2.18 ขั้นตอนการทดสอง ซีพีที ด้วยหัวกดชนิดกลไก
รูป 2.19 หัวกด ซีพีที ชนิดไฟฟ้า
รูป 2.20 การจำแนกชนิดของดินโดยใช้หัวกด ซีพีที ชนิดกลไกแบบเบคแมน (Begemann)
รูป 2.21 การจำแนกชนิดของดินโดยใช้หัวกด ซีพีที ชนิดไฟฟ้า (Robertson et al,1986)
รูป 2.22 เครื่องมือกดหยั่ง (CPT) ชนิดมือกด
รูป 2.23 หัวกด ซีพีที ชนิดกลไก
รูป 2.24 เครื่องมือตอกหยั่งแบบคุนเซลสแตป (Kunzelstab)
รูป 2.25 บ่อสังเกตการณ์และท่อวัดระดับน้ำพิโซมิเตอร์ระบบเปิด
สารบัญตาราง
ตารางที่ 1 ความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจในเขต กทม. และปริมณฑล
ตารางที่ 2 ความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจในพื้นที่ต่างจังหวัด
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบวิธีการเจาะสำรวจแต่ละลักษณะ
ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบวิธีการเก็บตัวอย่างดินแต่ละลักษณะ
ตารางที่ 5 การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบในที่แต่ละลักษณะ
ตารางที่ 6 การเปรียบเทียบวิธีการหยั่งสำรวจแต่ละลักษณะ