ทฤษฎีงานโลหะ (Fachkunde Metall) เล่ม 2

฿300.00

ทฤษฎีงานโลหะ (Fachkunde Metall) เล่ม 2 เทคโนโลยีวัสดุเทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์เทคโนโลยีอัตโนมัติ เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีไฟฟ้า

แชร์เล่มนี้

แปลและเรียบเรียง
รศ.บรรเลง ศรนิล

สำนักพิมพ์
มจพ.

ปีที่พิมพ์
ครั้งที่ 1
กันยายน พ.ศ.2557
ISBN
9786163680181

รหัสสินค้า
0573
หมวดหนังสือ
เครื่องกล

ทฤษฎีงานโลหะ (Fachkunde Metall) เล่ม 2

หนังสือทฤษฏีงานโลหะ (Fachkunde Metall) แปลและเรียบเรียงโดย รศ.บรรเลง ศรนิล เป็นหนังสือที่มีการนำเสนอเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย และหวังว่าจะเป็นการสนับสนุนให้คนไทยสามารถติดตามความก้าวหน้าด้านการผลิตชิ้นส่วนโลหะสมัยใหม่ได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน

หนังสือทฤษฏีงานโลหะเล่มนี้ใช้สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าหาความรู้ในงานสร้างเครื่องจักรกล

กลุ่มเป้าหมายคือ

  • ช่างฝีมือและช่างอุตสาหกรรม
  • ช่างแมคคานิคการผลิต
  • ช่างใช้เครื่องจักรทำงานตัดเฉือน
  • ช่างเขียนแบบ
  • การเรียนเป็นนายช่าง (Meister) และช่างเทคนิค
  • ผู้ชำนาญการในงานฝีมือและอุตสาหกรรม
  • นักศึกษา

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ได้จัดไว้เพื่อความเหมาะสมสำหรับแผนการฝึกอาชีพและการศึกษาสำหรับบุคลากรที่กล่าวมาในเบื้องต้น ซึ่งแบ่งออกเป็นเจ็ดส่วน เนื่องจากมีการพัฒนาการด้านเทคโนโลยีรวดเร็วจึงต้องปรับปรุงใหม่ในบางบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเทคนิคการวัดและการผลิตโดยการตัดเฉือน

เนื้อหาในเล่มประกอบด้วย

  • เทคโนโลยีวัสดุ
  • เทคโนโลยีเครื่องจักรและอุปกรณ์
  • เทคโนโลยีอัตโนมัติ
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ และ
  • เทคโนโลยีไฟฟ้า

ดัชนีจะมีภาษาอังกฤษกำกับเอาไว้เพื่อให้สื่อสารกันได้ในระดับสากล

1.  วัสดุที่ใช้ทางเทคนิค
1.1  ภาพรวมของวัสดุใช้งานและวัสดุช่วยงาน
1.2  การเลือกใช้วัสดุและคุณสมบัติของวัสดุ
1.3  โครงสร้างภายในของโลหะ
1.4  เหล็กกล้าและเหล็กหล่อ
1.5  โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-ferrous metals)
1.6  วัสดุผงอัด (Sinter materials)
1.7  วัสดุเซรามิก
1.8  กรรมวิธีทางความร้อนของเหล็กต่าง ๆ
1.9  การทดสอบวัสดุ (Material Testing)
1.10  การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน
1.11  พลาสติก
1.12  วัสดุผสมผสาน

2. เทคโนโลยีเครื่องจักรกลและอุปกรณ์
2.1 การแบ่งประเภทของเครื่องจักร
2.2 การเริ่มเดินเครื่องจักรกล
2.3 หน่วยทำงานของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์
2.4 หน่วยทำงานในการประสาน
2.5 ชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่รองรับและรับน้ำหนัก
2.6 หน่วยทำงานถ่ายทอดพลังงาน
2.7 หน่วยส่งกำลังขับ
2.8 เทคนิคงานประกอบ (Assembly Technology)
2.9 การบำรุงรักษา
2.10 การวิเคราะห์การชำรุดเสียหายและการหลีกเลี่ยงการเสียหาย
2.11 ความเค้นและความแข็งแรงของชิ้นส่วน

3. เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ
3.1 การควบคุมและการวัดคุม
3.2 พื้นฐานของการแก้ปัญหาการควบคุม
3.3 การควบคุมด้วยนิวแมติก (Pneumatic Controls)
3.4 การควบคุมด้วยไฮดรอลิกส์
3.5 การควบคุมด้วยไฟฟ้า
3.6 Programable Logic Controller (PLC)

4. เทคโนโลยีการนำเสนอข้อมุล (Information Technology)
4.1 การสื่อสารทางเทคนิค
4.2 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

5. เทคโนโลยีไฟฟ้า
5.1 วงจรกระแสไฟ
5.2 วงจรความต้านทางต่าง ๆ
5.3 ชนิดของกระแสไฟฟ้า
5.4 กำลังงานไฟฟ้าและงานไฟฟ้า
5.5 อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (Overload)
5.6 ข้อผิดพลาดของระบบติดตั้งไฟฟ้าและมาตรการป้องกัน